วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

“นิทรรศการอัตลักษณ์ศิลป์ถิ่นไทย” โดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ

ร่วมแสดง “นิทรรศการอัตลักษณ์ศิลป์ถิ่นไทย” โดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ
เพื่อเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ ภายใต้โครงการ
“อบรมเชิงปฏิบัติการและนิทรรศการอัตลักษณ์ศิลป์ถิ่นไทย” ครั้งที่ 7 ปี พ.ศ. 2564 ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 28 แห่ง



Nanchanop Thasuwan
Title: MULILA
Size: 60 x 80 cm.
Technique: Computer Graphic (Experiment: Cut & Flip)
🐈‍⬛Concept
แมวมุลิลา เป็นแมวมงคลของไทยที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เป็นแมวสีดำ ตาสีเหลืองราวกลีบดอกเบญจมาศ กล่าวกันว่า พระสงฆ์ควรเลี้ยงเพื่อช่วยให้มีจิตใจตั้งมั่นในการเล่าเรียนไม่ออกนอกลู่นอกทาง หูสีขาวของแมวเปรียบดังหูทิพย์ ส่งเสริมให้นักปราชญ์หรือพระสงฆ์สามารถศึกษาพระธรรมหรือเล่าเรียนสำเร็จตามปรารถนา
จากนิทรรศการ ”อัตลักษณ์ศิลป์ถิ่นไทย” ครั้งที่ 7 ปี พ.ศ. 2564
โดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 28 แห่ง

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2564

วิทยากรภายนอก กิจกรรมอบรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 2564

วิทยากรอบรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 

อาจารย์นรรชนภ  ทาสุวรรณ อาจารย์ประจำแขนงวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ ไปเป็นวิทยากรภายนอก ให้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564  กิจกรรมที่ 2 พัฒนาครูให้มีความรู้ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นโครงการที่คณะวิทยาการจัดการ มหาวิยาลัยราชภัฏจันทรเกษมได้รับการอนุญาตให้จัด


แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้คณะฯ ไม่สามารถใช้สถานที่ของโรงเรียนจัดกิจกรรมได้ตามกำหนดก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ เมื่อคณะครู และบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  เรียบร้อยแล้ว และมีการจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามมาตรฐานป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงจัดขึ้นได้


ในหัวข้อ "การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรรจุภัณฑ์”


เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2564​ ณ โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์) 


ขอขอบพระคุณสำนักปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, คณาจารย์และทีมงาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, ผู้อำนวยการ  คณะครูและเจ้าที่โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์) มา ณ  ที่นี้ด้วยค่ะ


ภาพบรรยากาศวันจัดกิจกรรมอบรม


ผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

ผลประเมินกิจกรรมการอบรมด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์


วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ผลงานวิชาการ

การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทสมุนไพร สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 (Application of Cultural Capital Context to Design and Develop Branding and Packaging Appeal to Herbal Products of the Community Enterprise in the Area of North Central Provinces Group 2)


โดย ประชิด ทิณบุตร และ นรรชนภ ทาสุวรรณ

นิทรรศการ ARTD ที่ชุมชน: นิทรรศการเผยแพร่ผลงานการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทสมุนไพร สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการด้านการออกแบบพัฒนาคุณภาพของตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนด้านสมุนไพร 2) ศึกษาทุนทางวัฒนธรรมด้านทัศนศิลป์ที่ปรากฏอยู่ในเขตพื้นที่ 3) ออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้าด้านสมุนไพรในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 (จังหวัดชัยนาท จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดอ่างทอง) โดยการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ และ 4) ประเมินความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่มีต่อภาพรวมผลงานการออกแบบตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งหมดจำนวน 8 ราย เป็นการศึกษาวิจัยแบบพัฒนาทดลองตามกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ โดยมีการประเมินความพึงพอใจในคุณภาพผลงานการออกแบบ จากตัวแทนของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 5 กลุ่ม โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงเลือกและการเลือกแบบบังเอิญ รวมจำนวนทั้งสิ้น 142 คน เก็บรวบรวมข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการนำเสนอผลงานแบบกลุ่มย่อยการสอบถามความคิดเห็นทั้งโดยตรงและแบบออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

"Design & Diversity" Progress of the Ph.D Exhibition 2020

งานนิทรรศการรายงานความก้าวหน้าผลงานดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


การออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์เพื่อถ่ายทอดคลังปัญญาผู้สูงอายุ
Interactive Design to Transfer the Elderly Intellectual Repository

โดย นางสาวนรรชนภ ทาสุวรรณ
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.อติเทพ แจ้ดนาลาว


The development of interactive design to transfer the elderly intellectual repository in form of web application which can be accessed anytime, anywhere, via any devices. The retention system of this present interactive design is organized in orderly fashion; as a result, the data can be easily accessed, retrieved, and functioned. This study can help paving the way to further develop interactive content design to support intellectual transfer from older generations to others, and also expanding Fine Arts knowledge repository for Elderly Wisdom Network in Thailand.

วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562

เกียรติประวัติครั้งหนึ่งในชีวิต

ขอกราบขอบพระคุณท่านคณบดี ประธานหลักสูตร อาจารย์ที่ปรึกษา คณาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ได้มอบทุนสนับสนุนในการทำดุษฎีนิพนธ์ ประจำปีการศึกษา 2561

ข้าพเจ้า นางสาวนรรชนภ ทาสุวรรณ นักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างมากและสัญญาว่าจะใช้ทุนอย่างคุ้มค่าเพื่อพัฒนาผลงานดุษฎีนิพนธ์ของตนเองให้ก้าวหน้าอย่างดีที่สุด


วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562

วิทยากร

ได้รับเชิญเป็นวิทยากร กิจกรรมการอบรมคอมพิวเตอร์เพื่องานเอกสาร ให้นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต แขนงวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนฝึกงาน
ภาพการบรรยายโดยยกตัวอย่างผลงานเว็บล็อกเกอร์
โดยการนำเว็บไซต์ที่เป็นรูปแบบบล็อกเกอร์ (Blogger.com) ที่ผู้ใช้สามารถเข้ามาใช้งานผ่านเว็บเบราเซอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวก ช่วยในการนำเสนอข้อมูล ที่สามารถบันทึกข้อมูล วิดีโอ รูปภาพ ลิงก์ และจัดการกับข้อมูล และยังสามารถเผยแพร่สู่สาธารณชน อีกทั้งหากนักศึกษาใช้งานต่อเนื่อง มีผู้เข้าชมจำนวนมาก ในอนาคตสามารถสร้างรายได้ได้ด้วย

บรรยากาศการฝึกอบรม



วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562

ผลงานวิชาการ

โดย นรรชนภ  ทาสุวรรณ 
ภาพผู้สูงอายุในประเทศสวีเดน โดย นรรชนภ  ทาสุวรรณ


บทความนี้กล่าวถึงหลายประเทศกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและประชากรโลกจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ รวมถึงประเทศสวีเดนด้วย ประเทศสวีเดนถูกจัดเป็นอันดับต้นในหลายด้าน เป็นประเทศที่น่าอยู่สำหรับผู้สูงอายุมากที่สุด มีระบบดูแลผู้สูงอายุที่เท่าเทียมและทั่วถึง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ช่วยเชื่อมต่อโลกเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้สูงอายุกลับมาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมอีกครั้ง ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface) เป็นตัวเชื่อมมนุษย์กับเทคโนโลยี ช่วยในการสื่อความหมายกับผู้ใช้ ผ่านการปฏิสัมพันธ์ในหลายระดับ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและปัญหาการใช้งานส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ในเชิงปฏิสัมพันธ์ของผู้สูงอายุและเพื่อหาแนวทางในการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุในประเทศสวีเดน โดยการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล ร่วมกับประสบการณ์ตรงจากการเดินทางไปทัศนศึกษาประเทศสวีเดน และศึกษาผ่านผลงานออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ของประเทศสวีเดน เช่น เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน